หมวดหมู่ - แพ่ง
ข้อเท็จจริง
โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีกับ นาย ก. กับพวก แต่ไม่ได้ระบุชื่อตัวบุคคลอื่นนอกจาก นาย ก.เท่านั้น แต่พอในคำฟ้องกลับปรากฏมีชื่อ นาย ข. และ นาย ค.โผล่มาด้วย ทั้งที่ นาย ข. และ นาย ค.ไม่มีส่วนร่วมในการทำสัญญาขายที่ดินให้แก่โจทก์เลย
ประเด็นคำถาม
ปัญหานี้โจทก์มีอำนาจฟ้องนาย ข. และ นาย ค.หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องและเพื่อนบ้าน ได้ซื้อตึกแถวด้านหน้าของโรงแรมแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงราย (ตึกแถวกับเจ้าของโรงแรมเป็นคนเดียวกัน) โดยผู้ร้องซื้อมาเมื่อปี 2545 ต่อมาเมื่อประมาณปีใหม่ 2556 ได้มีการเปลี่ยนเจ้าของโรงแรมโดยการขายให้กับเจ้าของใหม่ และ เจ้าของใหม่ที่มาซื้อโรงแรมมีความประสงค์จะปรับปรุงโรงแรมโดยการสร้างสปา และ ให้ตึกแถวทำทางระบายน้ำใหม่ ซึ่งแต่เดิมทางระบายน้ำของตึกแถวอยู่ในพื้นที่ของโรงแรม แต่เมื่อเปลี่ยนเจ้าของ ทางโรงแรมจึงต้องการปิดทางระบายน้ำเดิม แล้วให้ผู้ที่อาศัยในตึกแถวทำทางระบายน้ำใหม่ของแต่ละคน ซึ่งหากจะดำเนินการดังกล่าวต้องมีการทุบทำลายพื้นบางส่วนของตึกแถวออก เพื่อทำทางระบายน้ำใหม่
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถไม่ทำตามข้อเสนอของโรงแรมได้หรือไม่
กรณีของผู้ร้องเป็นกรณีภาระจำยอมหรือไม่
ผู้ร้องควรดำเนินการอย่างไรต่อไป
ข้อเท็จจริง พี่สาวของผู้ร้องได้รับหมายศาลให้เป็นจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกของสามีของพี่สาวผู้ร้อง(มีจำเลยที่ 2 คือ บริษัท มอเตอร์บัส จำกัด จำเลยที่ 3 คือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) ซึ่งเสียชีวิตไปประมาณเดือนเมษายน 2556 ในคดีละเมิดที่สามีพี่สาวของผู้ร้องเป็นพนักงานขับรถยนต์โดยสารประจำทาง สาย 126 ไปกระทำละเมิดโจทก์คือการขับรถโดยสารประจำทางทับร่างโจทก์อย่างแรง ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส เรียกค่าสินไหมทดแทนจำนวน 28,047,806 บาท
แต่พี่สาวของผู้ร้องได้หย่าขาดจากสามีตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2543 ในบันทึกทะเบียนก่ารหย่า ได้มีข้อตกลง 1.ให้บุตร 2 คนอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายหญิง 2.เรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ตกลงกันเอาเอง 3.เรื่องทรัพย์สินตกลงกันเอาเอง และไม่ได้มีการติดต่อกับสามีเลยนับแต่วันหย่า
บุตรทั้งสองคนพี่สาวของผู้ร้องเลี้ยงดูมาแต่ผู้เดียว ทางสามีไม่ได้มีการส่งเสียเลี้ยงดูบุตรทั้ง 2 แต่อย่างใด
ทางฝ่ายผู้ร้องทราบข่าวการเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 26 เม.ย. 2556 เนื่องจากไปขอคัดสำเนาทะเบียนราษฎรเพื่อใช้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินของบุตรคนโต
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1 พี่สาวของผู้ร้องต้องรับผิดในคดีนี้หรือไม่
ข้อ 2 บุตรทั้ง 2ของพี่สาวผู้ร้องต้องรับผิดในคดีนี้หรือไม่
ข้อ 3 จะทำอย่างไรที่จะให้ความมั่นใจว่าคดีนี้จบไม่ถูกฟ้องร้องเป็นคดีความใดๆอีก
ข้อ 4 ในคำฟ้องมีข้อความว่าโจทก์ได้ติดตามทวงถามจำเลยทั้งสามหลายครั้งแล้วแต่ได้รับการเพิกเฉยตลอดมาโจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล แต่พี่สาวผู้ร้องไม่ได้รับเอกสารใดๆนอกจากหมายเรียกให้เป็นจำเลยฉบับนี้ จะทำอย่างไรดี
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องและญาติมีที่ดินอยู่ในเขตบางแค จำนวน 18 ไร่
เมื่อ 25 ปีก่อน ที่ดินนี้มีที่ดินเขตใกล้เคียงทางด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นสวน ต่อมาที่ดินผืนนั้นถูกขายทำเป็นหมู่บ้านจัดสรร โดยทางหมู่บ้านจะถมดินลงในลำรางทั้งหมดเพื่อให้สร้างรั้วหมู่บ้านได้ ซึ่งพื้นที่ในลำรางนั้นครึ่งหนึ่งเป็นของปู่ผู้ร้องและอีกครึ่งเป็นของหมู่บ้านจัดสรร จึงตกลงทำหนังสือสัญญากันขึ้นระหว่าง คุณปู่ของผู้ร้องกับเจ้าของหมู่บ้านว่ายอมให้หมู่บ้านถมลำรางเต็มทั้งหมดแต่มีข้อแลกเปลี่ยนกันคือต้องทำการเปิดซอยให้ 1 ซอย เพื่อที่จะให้ผ่านเข้าออกกันได้จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน มีขนาดความกว้างของประตูไม่น้อยกว่า 6 เมตรแล้วให้ทางหมู่บ้านขอน้ำประปาให้ ในการทำสัญญาไม่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานแต่เป็นการทำสัญญากันเอง มีพยานรู้เห็นอย่างน้อย 2 คน ปัจจุบันเอกสารสัญญานี้ยังคงอยู่
ปัจจุบันหมู่บ้านนี้มีการมีการตั้งเป็นชุมชนหมู่บ้านชมเดือน มีประธานชุมชน มีคณะกรรมการชุมชน
อยู่มาวันหนึ่ง อาของผู้ร้องต้องการนำรถตักดินเข้า-ออกผ่านทางซอยดังกล่าว ก็เลยไปขออนุญาตต่อประธานชุมชน ทางประธานชุมชนก็ได้เรียกประชุมคณะกรรมการ ผลออกมาว่าไม่อนุญาตให้นำรถตักดินเข้ามา ทางอาผู้ร้องก็ไม่ได้เรียกร้องอะไรต่อไป
แต่ต่อมามีคนจำนวนหนึ่งประมาณเกือบ 10 คน พยายามล่ารายชื่อ เพื่อขอให้ประธานหมู่บ้านดำเนินการปิดซอยดังกล่าวทั้งที่ผู้ร้องใช้ทางผ่านเข้า-ออกมาเป็นเวลา 20 กว่าปีแล้ว
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1 ตามข้อเท็จจริงทางฝ่ายผู้ร้องได้ภาระจำยอมในที่ดินบริเวณซอยผ่านเข้า – ออก โดยอายุความตามกฎหมายแล้วหรือไม่ แล้วการได้มาซึ่งภาระจำยอมจำต้องให้ศาลสั่งหรือเราได้รับเองตามกฎหมาย
ข้อ 2 หนังสือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคลสองฝ่าย ไม่ได้ทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่มีพยานรู้เห็นสองคนขึ้นไป สามารถใช้เป็นเอกสารหลักฐานได้หรือไม่ เพราะฝ่ายหมู่บ้านอ้างเนื้อที่ตามโฉนดว่าเป็นทางปิดไม่มีช่องประตู
ข้อ 3 ในกรณีเช่นนี้ฝ่ายหมู่บ้านสามารถปิดซอยหรือเปิดแค่เฉพาะทางเดินกว้าง 1 เมตร 20 เซนติเมตร ได้หรือไม่ เพราะเส้นทางนี้ผู้ร้องใช้เป็นทางสัญจรรถยนต์ รถจักรยานยนต์มาตั้งแต่ต้นแล้ว
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องอยู่ในที่ดินผืนนี้มาแล้ว 30กว่าปีและมีครอบครัวอื่นอยู่ร่วมกันอีก 16 หลังคาเรือน โดยทั้งหมดไม่มีบ้านเลขที่ ต่อมาผู้ร้องถูกขับไล่ออกจากที่ดินโดยเจ้าของที่ดินซึ่งเพิ่งซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมมาได้ 1 ปีเศษ และผู้ขับไล่บอกว่าจะไม่มีการจ่ายเงินชดเชยใดๆแก่ผู้ร้องทั้งสิ้น และตัวผู้ร้องไม่มีเงินจ้างทนายความมาสู้คดีที่ถูกฟ้องขับไล่นี้
ประเด็นคำถาม
ข้อ 1 กรณีไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ต้องต่อสู้คดี ผลของคดีจะเป็นเช่นไร ผู้ร้องมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นค่ารื้อถอนบ้านหรือไม่
ข้อ 2 มีทนายความบริการประชาชนที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือไม่
ข้อ 3 ในการต่อสู้คดีถ้าไม่ใช้ทนายความ ผู้ร้องพูดเองต่อศาลได้หรือไม่
ข้อ 4 และถ้าแพ้คดีมีเวลานานเท่าใดกว่าศาลจะบังคับคดี
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นผู้ให้เช่าห้องพักโดยมีกำหนดระยะเวลาเช่า ตามสัญญาเช่า โดยไม่มีข้อสัญญากำหนดให้ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดในสัญญา ต่อมาระหว่างอายุการเช่าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจึงบอกเลิกสัญญา และ ขอให้ผู้เช่าชำระหนี้ แต่ผู้เช่าไม่ยอมชำระแต่อย่างใด ผู้ให้เช่าจึงใช้สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินในห้องที่เคยเช่าไว้เป็นประกันการชำระหนี้
ประเด็นคำถาม
1.ผู้เช่าสามารถใช้สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินของผู้เช่าในห้องพักได้หรือไม่
2.ผู้ให้เช่าจะนำทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้ออกขายทอดตลาด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241,244 ได้หรือไม่
3.หากวิธีการตาม ข้อ 2.ไม่สามารถทำได้ จะดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาเช่า
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องมีที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 200 ตารางวา เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์รวมระหว่างพี่น้อง2 คน ซึ่งได้มาจากบิดาได้ใส่ชื่อตั้งแต่ขณะซื้อที่ดิน ผู้ร้องเห็นว่าไม่ใช่มรดก ต่อมาบิดาผู้ร้องให้น้องชายสร้างออฟฟิศของน้องชายเองเพื่อความสะดวก ออฟฟิศใช้พื้นที่ประมาณครึ่งของทั้งแปลงซึ่งอาจเกินมาไม่กี่เซนติเมตร ตอนนี้เกือบจะครบสิบปีแล้ว แต่ช่วงปีที่แล้วพี่ชายที่มีชื่อเป็นเจ้าของรวมต้องการที่ดินทั้งหมด น้องชายไม่ยอมเพราะมีออฟฟิศซึ่งมีพนักงานและดำเนินกิจการอยู่ พี่ชายขู่ว่าจะประกาศขายที่ดิน และให้นายหน้าเข้ามาดูและจะปิดป้ายหน้าออฟฟิศเพื่อขาย น้องชายเลยบอกว่าถ้าขายจะซื้อ พี่ชายโก่งราคาแพงมาก ต่อมาพี่น้องคนอื่นช่วยพูดให้ราคาที่พอรับได้แต่ยังแพงอยู่ดี แต่เพื่อตัดความรำคาญน้องชายจึงตกลงจะซื้อด้วยวาจา ต่อหน้าพี่น้องคนอื่นอีกหลายคนเป็นพยาน ประมาณสามเดือนต่อมา พี่ชายก็เริ่มบ่ายเบี่ยงอ้างว่าอยากได้ราคาที่ดินที่สูงกว่านี้ และขู่เหมือนเดิมว่าจะขายคนนอก จะให้รื้อออฟฟิศทิ้ง จะฟ้องศาลไม่ให้มาใช้พื้นที่ชั่วคราวจนกว่าจะตกลงกันได้ คือกะให้ปิดบริษัทไปเลย
ประเด็นคำถาม
1.ชื่อร่วมนี้ไม่ได้แบ่งว่าของใครอยู่ส่วนไหน แบ่งตัวตึกที่สร้างได้หรือไม่เพราะครึ่งหนึ่งพอดี อาจเกินไปเล็กน้อย แต่ตัวน้องชายยินดีจ่ายส่วนที่เกินแต่พี่ชายประสงค์จะขายในราคาสูง
2.พี่ชายที่มีชื่อร่วมมีสิทธิขอหมายศาลสั่งปิดสถานที่เพื่อรอการตกลงได้หรือไม่ ออฟฟิศคงเดือนร้อนมาก
3.พี่ชายมีสิทธิประการขายที่ดินหน้าที่ดินได้หรือไม่
4.พี่ชายที่เป็นเจ้าของรวมมีสิทธิขอหมายศาลสั่งน้องชายรื้อตึกทิ้งแล้วขายเอาเงินแบ่งกันได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องได้กู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนเก่า(ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) ปัจจุบันได้เลิกรากันแล้ว โดยมีข้อตกลงว่า ผู้ร้องเองต้องชำระเงินกู้ยืมเงินคืนทั้งหมด ผู้ร้องได้จะทะเบียนสมรสกับภริยาคนใหม่แล้ว แฟนเก่าไม่มั่นใจว่าผู้ร้องจะจ่ายค่าบ้านให้ทุกเดือน และเกรงว่า ผู้ร้องจะตายก่อนผ่อนชำระหนี้เงินกู้เสร็จ
ประเด็นคำถาม
1.ผมจะทำอย่างไรในทางกฎหมายให้แฟนเก่ามั่นใจได้ว่าผู้ร้องจะผ่อนชำระเงินกู้ให้ทุกเดือน
2.ภริยาใหม่มีสิทธิในบ้านหรือไม่ เมื่อผู้ร้องตายลง ถ้ามีสิทธิจะทำอย่างไรในทางกฎหมาย เพื่อให้ภริยาให้ไม่มีสิทธิในบ้าน
ข้อเท็จจริง ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก เดิมนั้นที่ดินและบ้านเป็นของบิดาผู้ร้องซึ่งเสียชีวิตไปในปี 2539 ต่อมาจึงมีการแต่งตั้งมารดาผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่มารดาผู้ร้องกลับโอนที่ดินเป็นของตนโดยผู้ร้องไม่รู้ในปี 2540 และทำสัญญาซื้อขายที่ดินเปล่าให้แก่บุคคลภายนอกก่อนจะย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดกับครอบครัวใหม่ แต่ข้อเท็จจริงที่ดินพิพาทมีบ้านอยู่ 2 หลังซึ่งผู้ร้องอาศัยอยู่ และกรรมสิทธิ์ในบ้านเป็นชื่อของผู้ร้อง เมื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินเปล่าแล้ว บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ซื้อจึงมาขับไล่ผู้ร้องให้ออกจากที่ดิน และจะฟ้องขับไล่ให้ขนย้ายบ้านออกไป
ประเด็นคำถาม
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของใคร และผู้ร้องจำต้องรื้อถอนบ้านหรือย้ายออกจากตัวบ้านหรือไม่
ข้อเท็จจริง บิดาของผู้ร้องเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ช่วงเดือนกันยายนปี 2555 โดยตอนเกิดอุบัติเหตุบิดาผู้ร้องมีอายุ 59 ปี ปัจจุบันอายุ 60 ปี ผลจากอุบัติเหตุทำให้ต้องผ่าตัดสมอง ตอนนี้พักฟื้นอยู่ที่บ้าน ไม่สามารถแสดงออกหรือสื่อสารและช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องนอนอย่างเดียว ตอนเกิดอุบัติเหตุบิดาผู้ร้องเป็นพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งทางเจ้าของบริษัทก็ยังคงจ่ายเงินเดือนตามปกติให้อยู่จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะไปทำงานไม่ได้ก็ตาม (สามารถใช้ประกันสังคมได้)
ประเด็นคำถาม
1.หากต้องการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถต้องทำอย่างไร และจะส่งผลอย่างไรต่อสิทธิและความสามารถในการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ
2.การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบิดาผู้ร้อง ต้องทำอย่างไรบ้าง
3.การดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณี ต้องดำเนินการอย่างไร