หมวดหมู่ - อาญา
ข้าพเจ้าติดต่อซื้อสินค้ากับนาย A ผ่านช่องทางออนไลน์ นาย A ใช้ถ้อยคำในการเสนอขายสินค้าที่ดูน่าเชื่อถือ ข้าพเจ้าจึงหลงเชื่อและได้โอนเงินชำระค่าสินค้าให้แก่นาย A ต่อมาข้าพเจ้าเห็นข้อความที่บุคคลอื่นโพสแจ้งเตือนเรื่องการหลอกลวงของนาย A ในลักษณะเป็นการฉ้อโกง เมื่อข้าพเจ้าติดต่อนาย A เพื่อสอบถามเรื่องสินค้า แต่ก็ไม่สามารถติดต่อได้
จากการที่ข้าพเจ้าหาข้อมูลจึงพบว่านาย A ได้ฉ้อโกงมาแล้วหลายคน โดยมีวิธีหลอกลวงให้บุคคลอื่น ๆ โอนเงินให้แก่ตนแตกต่างกันไป ขณะนี้ข้าพเจ้ามีพยานหลักฐานพอสมควรโดยรวบรวมจากผู้เสียหายรายอื่น ๆ
ประเด็นคำถาม
- สามารถรวบรวมพยานหลักฐานของผู้เสียหายรายอื่น ๆ เพื่อยื่นฟ้องได้หรือไม่
- หากเจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการล่าช้า ควรยื่นฟ้องภายในระยะเวลาใด
ข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3), 343 และ 348
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1)
ข้อเท็จจริง
แฟนเก่าซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสของข้าพเจ้า นำรถยนต์ที่ข้าพเจ้าซื้อมาภายหลังจากที่ได้เลิกคบหากันแล้วไปใช้แต่ไม่ยอมนำกลับมาคืน เมื่อข้าพเจ้าทวงถามก็นำรถยนต์ดังกล่าวไปซ่อนแล้วย้ายที่อยู่ใหม่เสีย ทั้งนี้ ข้าพเจ้าเคยไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว แต่พนักงานสอบสวนปฏิเสธไม่ยอมรับแจ้งความโดยอ้างว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นสินสมรส กรณีจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
ประเด็นคำถาม
ข้าพเจ้าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 ได้สั่งจองวัตถุมงคล(เช่าพระ) กับผู้ให้เช่าพระผ่านทาง Facebook โดยต้องโอนเงินให้กับผู้ให้เช่าก่อนและรับพระเครื่องทีหลัง ผู้ร้องจึงได้ตกลงเช่าซื้อและโอนเงินตามที่ได้ตกลงกันเป็นจำนวน 785,000 บาท กำหนดรับพระเครื่องในวันที่ 1 กันยายน 2561 แต่ผู้ให้เช่าพระไม่มาตามนัดและได้ปิด Facebook รวมถึงบัญชีธนาคารดังกล่าว จึงไม่สามารถติดต่อกับคู่กรณีผู้ให้เช่าพระได้อีก ผู้ร้องและผู้เสียหายคนอื่นๆถูกผู้ให้เช่าพระคนดังกล่าวโกงเงินจากการให้เช่าพระ รวมเป็นมูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท จึงได้รวมตัวกันแจ้งความร้องทุกข์ที่ ปอท.(กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ในคดีของผู้เสียหายคนอื่นๆนั้น พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งความและออกหมายเรียกแล้ว ส่วนคดีของผู้ร้องยังมิได้ดำเนินการแจ้งความเนื่องจากผู้ร้องเกรงว่าจะกระทบต่อการเรียน หลังจากนั้นผู้ร้องได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ปอท.ว่าคู่กรณีได้มอบตัวและมีทนายความเข้าสู้คดีในเบื้องต้น ผู้ต้องหาให้การว่าถูกโกงโดยคนชื่อศักดิ์ และคู่กรณีแจ้งว่าจะฟ้องร้องคดีกับผู้ที่แจ้งความดำเนินคดีกับตน
ประเด็นคำถาม
1. หากผู้ร้องมีความประสงค์จะดำเนินคดีทางอาญากับคู่กรณีควรทำอย่างไร และการดำเนินคดีกับคู่กรณีจะมีผลกระทบต่อการเรียนของผู้ร้องหรือไม่
2. ผู้ร้องต้องจัดหาทนายความในการขึ้นศาลหรือไม่
กรณีมีการเล่นฟุตบอล ที่สนามของหมู่บ้าน ตั้งแต่เวลา 16.30 ถึง 19.00 น. โดยเวลาประมาณ 18.40 น. แล้วมีสมาชิกหมู่บ้านรายหนึ่ง บอกว่า “ผมเป็นตำรวจ ถ้าไม่เงียบ เดี๋ยวจะจับให้หมดเลย” จากนั้นสมาชิกหมู่บ้านคนดังกล่าวหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายคลิปวีดิโอ
ประเด็นคำถาม
- อยากทราบว่าผู้ที่เล่นฟุตบอลกระทำความผิดกฎหมายเรื่องใด หรือไม่
ข้อเท็จจริง
เมื่อประมาณปลายปี 2556 ผู้ร้องเคยฝากเงินจำนวน 30,000 บาท ให้คนรู้จักเพื่อซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยี่ห้อ ไอโฟน 5s ที่ประเทศสิงคโปร์ เวลาผ่านมาประมาณ 1 ปี แล้ว ผู้ร้องพยายามติดต่อกับบุคคลดังกล่าว เขาบอกว่าให้รอก่อน เขาจะฝากคนอื่นไปซื้ออีกที จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับของเลย ผู้ร้องต้องการขอเงินคืน เขาก็ผลัดมาเรื่อยๆ
ประเด็นคำถาม
สามารถแจ้งความ หรือดำเนินคดีได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
บิดาผู้ร้องเสียชีวิต เมื่อเดือนธันวาคม 2549 โดยมีพี่สาวผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล เมื่อเดือนมีนาคม 2551 พี่สาวผู้ร้องได้ดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคน (รวมผู้ร้อง) ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 โดยตกลงยกเว้นที่ดินแปลงหนึ่งว่าจะจัดสรรเมื่อมารดาของผู้ร้องเสียชีวิต ต่อมาวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 ผู้ร้องทราบว่าพี่สาวผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นชื่อของพี่สาวผู้ร้องเองตั้งแต่ปี 2553 และปัจจุบันได้ดำเนินการขับไล่ผู้ร้องและครอบครัวออกที่ดินแปลงดังกล่าว
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับพี่สาวผู้ร้องได้อย่างไรบ้าง
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องอายุ 21 ปี ได้รู้จักกับฝ่ายหญิงอายุ 16 ปี คบกันและมีเพศสัมพันธ์กัน 1 ครั้งด้วยความเต็มใจ โดยฝ่ายหญิงบอกขออนุญาตผู้ปกครองแล้ว แต่ทราบภายหลังว่าฝ่ายหญิงไม่ได้ขออนุญาตแต่อย่างใด จากนั้นทางบ้านของฝ่ายหญิงกล่าวหาผู้ร้องว่าใน 1 อาทิตย์ฝ่ายหญิงจะหายไป 1 วัน ซึ่งผู้ร้องทราบภายหลังว่าฝ่ายหญิงได้ออกไปเที่ยวกับเพื่อน จากนั้น ทางบ้านของฝ่ายหญิงก็บอกว่าจะเอาเรื่องนี้ไปแจ้งความข้อหาพรากผู้เยาว์
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องถามว่าผู้ร้องจะผิดข้อหาพรากผู้เยาว์หรือไม่
ข้อเท็จจริง ผู้ร้องเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนและเป็นผู้รับเงินตามเช็คกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยในเดือนมกราคม 2555 นายจ้างได้แจ้งความประสงค์ขอหักหนี้จากจำนวนเงินตามเช็ค แต่ผู้ร้องไม่ให้ความยินยอม อีกทั้งนายจ้างไม่คืนเช็คดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องจนกระทั่งเช็คนั้นเกินกำหนดระยะเวลาการเรียกเก็บเงินตามเช็คถึง 2 คราว (นายจ้างเป็นผู้ขอให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกเช็คฉบับใหม่เพื่อแทนฉบับเดิมทั้งสองครั้ง) ปัจจุบันนายจ้างยังคงครอบครองเช็คของผู้ร้อง
ประเด็นคำถาม
1. กรรมการบริษัทและผู้จัดการฝ่ายบัญชีมีความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์หรือไม่
2. คดียักยอกทรัพย์นับอายุความอย่างไร
3. พฤติการณ์บ่งชี้ว่ารู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อใด
ข้อเท็จจริง ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พศ.2556 ผู้ร้องได้เข้ากิจกรรมรับน้อง และถูกรุ่นพี่ที่คุมกิจกรรมทำการลงโทษด้วยการนั่งม้า(คาดว่าเป็นการจับให้คุกเข่ามือยันพื้นแล้วให้คนมานั่งทับหลัง) นั่งเก้าอี้(ไม่แน่ใจว่าต่างจากนั่งม้ายังไง) ให้วิ่ง และว้ากใส่(เข้าใจว่าเป็นการตะโกนด่าทอกดดันทางจิตวิทยา)
หลังเหตุการณ์ดังกล่าว1เดือน ผู้ร้องมีอาการชาที่เท้า แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น เนื่องจากการทำกิจกรรมรับน้อง ผู้ร้องได้ทำการเอ็กซเรย์ ซึ่งผลคือกระดูกคด
โดยที่ก่อนทำเหตุการณ์รับน้องนั้น ผู้ร้องได้เคยเอ็กซเรย์มา ไม่พบว่ากระดูกคด แพทย์จึงได้ลงความเห็นว่าเป็นเพราะกิจกรรมรับน้อง
ผู้ร้องยังคงเข้ากิจกรรมรับน้องต่อไป และยังถูกว้ากอยู่เสมอ จนผู้ร้องเครียดและป่วยเป็นโรคซึมศร้า(ผู้ร้องมิได้แจ้งว่าผ่านการวินิจฉัยของแพทย์มาแล้วหรือยัง)
หลังจากนั้นผู้ร้องก็มีอาการปวดหลัง ต้องกินยามาโดยตลอดโดยไม่มีกำหนด(เข้าใจว่าทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์)
ปัจจุบัน หลังเสร็จสิ้นรับน้องมาแล้วประมาณ1ปี รุ่นพี่ได้เรียกผู้ร้องเข้าไปว้ากอีก ซึ่งผู้ร้องได้ทำการบันทึกเสียงไว้
ประเด็นคำถาม
ผู้ร้องสามารถแจ้งความ-เอาผิดอะไรรุ่นพี่ได้บ้าง
ข้อเท็จจริง ตำรวจเข้าไปจับคนร้ายในโรงแรมรีสอร์ท ไม่แจ้งเจ้าของและไม่มีหมายค้น และในวันทำแผนก็ทำเช่นเดียวกัน
ประเด็นคำถาม
ตำรวจทำถูกหรือผิดอย่างไร สามารถเอาผิดกับตำรวจได้หรือไม่