หมวดหมู่ - กฎหมายพิเศษ
คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านสามารถออกมาตรการงดเก็บขยะสำหรับลูกบ้านที่ชำระค่าส่วนกลางได้หรือไม่
ข้อกฎหมาย
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 48, 49 และ 50
ประเด็นคำถาม
การใช้กัญชาในทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริง
หมู่บ้านของผู้ร้องเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมาย (“นิติบุคคลฯ”) ได้รับโอนสาธารณูปโภคโดยคำสั่งศาลเมื่อกลางปี 2561 โดยสมาชิกของหมู่บ้านได้ให้ความเห็นชอบในการจัดเก็บค่าบำรุงจากบุคคลภายนอกซึ่งใช้ถนนอันเป็นสาธารณูปโภคอย่างหนึ่งของหมู่บ้านเป็นทางผ่าน เนื่องจากถนนดังกล่าวสามารถใช้เป็นทางลัดออกไปได้หลายทาง ปรากฏว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งอ้างตนว่าเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากภาระจำยอมโดยอายุความ สามารถใช้สิทธิเดินทางผ่านถนนดังกล่าวข้างต้นได้โดยไม่ต้องชำระค่าบำรุง แต่หน่วยงานดังกล่าวก็ไม่สามารถแสดงรายละเอียดใด ๆ แห่งภาระจำยอมต่อนิติบุคคลฯ ได้ โดยอ้างว่าเป็นเพราะกรมที่ดินได้ทำลายเอกสารที่เกี่ยวข้องไปแล้วบางส่วน
ประเด็นคำถาม
1) นิติบุคคลฯ ควรดำเนินการอย่างไร
2) นิติบุคคลฯ จะสามารถดำเนินการร้องขอต่อศาลหรือกรมที่ดินเพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ชาดเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ระหว่างนิติบุคคลฯ และหน่วยงานในกรณีดังกล่าวได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
เพื่อนบ้านของผู้ร้อง (“คู่กรณี”) สร้างสระว่ายน้ำในบริเวณที่เกือบติดกับกำแพงบ้านของผู้ร้อง และวางกระถางต้นไม้เป็นแนวยาวบนถนนของหมู่บ้านเป็นเหตุให้ผู้ร้องเข้าออกบ้านของตนได้ลำบาก
ประเด็นคำถาม
- ผู้ร้องสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อนบ้านดังกล่าวได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ในการประชุมใหญ่สามัญของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีมติเสียงข้างมากในเรื่องอัตราค่าส่วนกลาง หรือ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคดังนี้
1.สำหรับผู้ค้างจ่ายค่าส่วนกลางในปี พ.ศ.2555-2560 ให้ลดค่าส่วนกลางที่ค้างชำระ 50% ของค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายจริง ส่วนในปี 2561 และปีถัดไปให้ชำระเต็มจำนวน ยกตัวอย่างเช่น บ้านหลังที่ 1 ค้างชำระค่าส่วนกลางรายเดือนในปี 2555-2560 เป็นเงินปีละ 7,000 บาท รวมเป็นเงินค้างชำระทั้งสิ้น 42,000 บาท หักส่วนลด 50% คงเหลือ 21,000 บาท และค่าส่วนกลางในปี 61 และ ปี 62 จ่ายจำนวนเต็ม ดังนั้น บ้านหลังนี้จะต้องจ่ายค่าส่วนกลางปี 2555 -2562 รวมทั้งสิ้น 35,000 บาท
2.สำหรับผู้ที่จ่ายค่าส่วนกลางตรงเวลาจะได้รับส่วนลด 25% ของค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายจริง เป็นเวลา 2 ปี คือในปี2561-2562 ยกตัวอย่างเช่น บ้านหลังที่ 2 ชำระค่าส่วนกลางรายเดือน ในปี2555-2560 ตรงเวลาทุกปี เป็นจำนวนปีละ 7,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,000 บาท และได้รับส่วนลด 25% ในปี 61 และ ปี 62 คิดเป็นเงินปีละ 5,250 บาท ดังนั้น บ้านหลังที่ 2 ต้องจ่ายค่าส่วนกลางสำหรับ ปี 2555-2562 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 52,500 บาท
ประเด็นคำถาม
- ในกรณีบ้านหลังที่ 2 ต้องเสียผลประโยชน์จากมติคณะกรรมการหมู่บ้านในเงินส่วนต่าง 17,500 บาท เจ้าของบ้านหลังที่ 2 สามารถเรียกร้องค่าเสียผลประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเป็นผู้วาดสติ๊กเกอร์ไลน์ชุดหนึ่งที่ได้นำออกขายแล้ว ต่อมาปรากฏว่ามีผู้นำแบบสติ๊กเกอร์ดังกล่าวไปสกรีนเป็นเสื้อยืดเพื่อจำหน่ายอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า
ประเด็นคำถาม
การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ หากการดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ร้องจะมีสิทธิดำเนินการอย่างไรบ้าง
ข้อเท็จจริง
สมาคมด้านวิชาการแห่งหนึ่งได้ทำการรวบรวมบทความจากงานประชุมวิชาการ และได้นำไปส่งสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเพื่อจัดพิมพ์ ปัจจุบันหนังสือได้มีการจัดพิมพ์ออกมาวางขายตามร้านหนังสือแล้ว โดยหนังสือเล่มดังกล่าวมีบทความของผู้ร้องรวมอยู่ในนั้นด้วย
ในกระบวนการจัดพิมพ์ สมาคมได้นำบทความของผู้ร้องที่อยู่ในเอกสารประกอบการประชุมไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นโดยไม่ได้แจ้งผู้ร้องก่อนซึ่งผู้ร้องทราบเรื่องนี้จากการเข้าร่วมประชุมของสมาคมในภายหลัง ต่อมาสมาคมได้แจ้งผู้ร้องให้แก้ไขบทความตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีกำหนดส่งวันสุดท้ายวันที่ 31 มกราคม ผู้ร้องไม่สามารถแก้ไขส่งได้ทันตามที่สมาคมกำหนด ผู้ร้องจึงได้แจ้งแก่สมาคม และสมาคมอนุญาตให้เลื่อนส่งบทความที่แก้ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ สมาคมกลับแจ้งว่าหากผู้ร้องไม่ส่งบทความที่แก้ไขภายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ จะถือว่าผู้ร้องไม่แก้ไขบทความตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ร้องจึงส่งบทความที่แก้ไปให้สมาคมในวันที่ 16 กุมภาพันธ์
ปัจจุบันเมื่อหนังสือวางขาย ผู้ร้องพบว่าบทความของผู้ร้องในหนังสือเป็นบทความที่อยู่ในเอกสารประกอบการประชุมของสมาคม ไม่ใช่บทความที่ผู้ร้องได้ทำการแก้ไขแล้ว ผู้ร้องติดต่อไปยังสมาคม และสำนักพิมพ์ พบว่าต้นฉบับที่สมาคมส่งให้สำนักพิมพ์คือบทความที่อยู่ในเอกสารประกอบการประชุมของสมาคม โดยอ้างว่าผู้ร้องไม่ส่งบทความภายในวันที่ 31 มกราคม จึงต้องส่งบทความที่อยู่ในเอกสารประกอบการประชุมของสมาคมไปแทนบทความที่ผู้ร้องแก้
ประเด็นคำถาม
1. ใครเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในบทความที่อยู่ในเอกสารประกอบการประชุมของสมาคม
2. ใครเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในบทความที่ผู้ร้องแก้ไขซึ่งยังไม่ได้ถูกเผยแพ่รออกไป
3. ใครเป็นผู้มีลิขสิทธ์ในบทความที่อยู่ในหนังสือที่ตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายแล้ว
4. ถ้าหากผู้ร้องไม่ได้แก้ไขบทความส่งไปให้สมาคม สมาคมจะมีสิทธิ์นำบทความที่อยู่ในเอกสารประกอบการประชุมของสมาคม ไปตีพิมพ์ลงในหนังสือได้หรือไม่
5. การนำบทความที่อยู่ในเอกสารประกอบการประชุมของสมาคมไปจัดพิมพ์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา จริยธรรมวิจัย หรือไม่อย่างไร
ครอบครัวของผู้ร้องเปิดกิจการให้เช่าอพาร์ทเม้นท์ ปรากฏว่ามีผู้เช่าบางรายค้างชำระค่าเช่ามาแล้ว 3 - 4 เดือน คิดเป็นเงินประมาณ 50,000 บาท
ประเด็นคำถาม
1.) ในกรณีผู้เช่าค้างชำระค่าเช่า ฝ่ายผู้ร้องมีสิทธิดำเนินการอย่างไรบ้างเพื่อให้ผู้เช่าชำระค่าเช่า หรือเพื่อยกเลิกสัญญาและให้ผู้เช่าย้ายออกจากอาคารที่เช่า
2.) ฝ่ายผู้ร้องสามารถระบุข้อสัญญาเพื่อกำหนดเหตุแห่งการสิ้นสุดสัญญาในกรณีที่ผู้เช่าค้างชำระค่าเช่า หรือเพื่อกำหนดให้อำนาจฝ่ายผู้ร้องในการดำเนินการเพื่อให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าได้หรือไม่
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องเช่าที่ดินกับวัดและได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินมาเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี โดยผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ก่อสร้างและได้รับเอกสารสิทธิ์จากสำนักงานที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมามีบุคคลอื่นประสงค์จะสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของวัดติดกับอาคารพาณิชย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องเกรงการก่อสร้างอาคารเพิ่มบนที่ดินเดียวกันและจะก่อสร้างติดกับอาคารพาณิชย์ของผู้ร้อง อาจจะส่งผลกระทบต่ออาคารพาณิชย์ของผู้ร้องให้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการก่อสร้างอาคารต้องมีการคำนวณน้ำหนักโดยรวมของอาคารใหม่และอาคารของผู้ร้อง รวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะของดิน เพื่อใช้ในการกำหนดระยะห่างระหว่างฐานราก
ผู้ร้องได้สอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลเรื่องการเว้นระยะห่างของอาคาร แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าการอ้างสิทธิพื้นที่ข้างเคียง กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิเฉพาะเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่เจ้าของอาคาร
ประเด็นคำถาม
1. ใครเป็นผู้มีสิทธิกล่าวอ้างเรื่องสิทธิ “พื้นที่ข้างเคียง” ตามกฎหมาย และผู้ร้องสามารถอ้างสิทธิใดได้บ้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออาคารพาณิชย์ของผู้ร้อง
2. ผู้ร้องสามารถอ้างกฎหมายใด เพื่อร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าของอาคารใหม่ ต้องดำเนินการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม คำนวณน้ำหนักของอาคารใหม่และน้ำหนักอาคารที่ก่อสร้างเดิมในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้กำหนดระยะห่างระหว่างฐานของอาคารใหม่กับฐานของอาคารเดิม เพื่อความปลอดภัยของอาคารก่อนดำเนินการก่อสร้าง
ข้อเท็จจริง
ผู้ร้องและเพื่อนรวม 2 คนร่วมกันทำกิจการประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีผู้ร้องเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องต้องการมอบอำนาจให้เพื่อนลงลายมือชื่อในเอกสาร ภพ.20 และหนังสือรับรองของห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อใช้ในการเสนอราคางานรับเหมาก่อสร้าง จึงต้องการสอบถามว่าหนังสือมอบอำนาจต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่
ประเด็นคำถาม
1. การมอบอำนาจลงลายมือชื่อแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่